วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์


ความรู้เกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์




ความหมายของ Solar Cell หรือ PV
Solar Cell หรือ PV มีชื่อเรียกกันไปหลายอย่าง เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์สุริยะ หรือเซลล์ photovoltaic ซึ่งต่างก็มีที่มาจากคำว่า Photovoltaic โดยแยกออกเป็น photo หมายถึง แสง และ volt หมายถึง แรงดันไฟฟ้า เมื่อรวมคำแล้วหมายถึง กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากการตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง แนวความคิดนี้ได้ถูกค้นพบมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1839 แต่เซลล์แสงอาทิตย์ก็ยังไม่ถูกสร้างขึ้นมา จนกระทั่งใน ปี ค.ศ. 1954 จึงมีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ และได้ถูกนำไปใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับดาวเทียมในอวกาศ เมื่อ ปี ค.ศ. 1959 ดังนั้น สรุปได้ว่า
เซลล์แสงอาทิตย์ คือ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน (Silicon), แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Diselenide) เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงก็จะเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า และจะถูกแยกเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบเพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อนำขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่อุปกรณ์เหล่านั้น ทำให้สามารถทำงานได้
ชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์
แบ่งตามวัสดุที่ใช้เป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ

Single Crystalline Silicon Solar Cell

Polycrystalline Silicon Solar Cell

Amorphous Silicon Solar Cell
1.              เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน ชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline Silicon Solar Cell) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Monocrystalline Silicon Solar Cell และชนิดผลึกรวม (Polycrystalline Silicon Solar Cell) ลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนแข็งและบางมาก
2.              เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell) ลักษณะเป็นฟิล์มบางเพียง 0.5 ไมครอน (0.0005 มม.) น้ำหนักเบามาก และประสิทธิภาพเพียง 5-10%
3.              เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำอื่นๆ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์, แคดเมียม เทลเลอไรด์ และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ เป็นต้น มีทั้งชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline) และผลึกรวม (Polycrystalline) เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากแกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ จะให้ประสิทธิภาพสูงถึง 20-25%
โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์
โครงสร้างที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ สารกึ่งตัวนำที่ราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนโลก คือ ซิลิคอน จึงถูกนำมาสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ โดยนำซิลิคอนมาถลุง และผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ จนกระทั่งทำให้เป็นผลึก จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแพร่ซึมสารเจือปนเพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็น โดยเมื่อเติมสารเจือฟอสฟอรัส จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น (เพราะนำไฟฟ้าด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ) และเมื่อเติมสารเจือโบรอน จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี (เพราะนำไฟฟ้าด้วยโฮลซึ่งมีประจุบวก) ดังนั้น เมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและเอ็นมาต่อกัน จะเกิดรอยต่อพีเอ็นขึ้น โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน อาจมีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความหนา 200-400 ไมครอน (0.2-0.4 มม.) ผิวด้านรับแสงจะมีชั้นแพร่ซึมที่มีการนำไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าด้านหน้าที่รับแสงจะมีลักษณะคล้ายก้างปลาเพื่อให้ได้พื้นที่รับแสงมากที่สุด ส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหลังเป็นขั้วโลหะเต็มพื้นผิว
หลักการทำงานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์                  เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและ โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น
ตัวอย่าง
เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว จะให้กระแสไฟฟ้าประมาณ 2-3 แอมแปร์ และให้แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดประมาณ 0.6 โวลต์ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไม่มากนัก ดังนั้นเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้ามากเพียงพอสำหรับใช้งาน จึงมีการนำเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็น เรียกว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Modules) ลักษณะการต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นอยู่ว่าต้องการกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า
  • การต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบขนาน จะทำให้ได้กระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
  • การต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอนุกรม จะทำให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น
ขั้นตอนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
  • เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอนชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystal) หรือ Monocrystalline มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.              นำซิลิคอนที่ถลุงได้มาหลอมเป็นของเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 1400 °C แล้วดึงผลึกออกจากของเหลว โดยลดอุณหภูมิลงอย่างช้าๆ จนได้แท่งผลึกซิลิคอนเป็นของแข็ง แล้วนำมาตัดเป็นแว่นๆ
2.              นำผลึกซิลิคอนที่เป็นแว่น มาแพร่ซึมด้วยสารเจือปนต่างๆ เพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็นภายในเตาแพร่ซึมที่มีอุณหภูมิประมาณ 900-1000 °C แล้วนำไปทำชั้นต้านการสะท้อนแสงด้วยเตาออกซิเดชั่นที่มีอุณหภูมิสูง
3.              ทำขั้วไฟฟ้าสองด้านด้วยการฉาบไอโลหะภายใต้สุญญากาศ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องนำไปทดสอบประสิทธิภาพด้วยแสงอาทิตย์เทียม และวัดหาคุณสมบัติทางไฟฟ้า
  • เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอนชนิดผลึกรวม (Polycrystalline) มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.              นำซิลิคอนที่ถลุงและหลอมละลายเป็นของเหลวแล้วมาเทลงในแบบพิมพ์ เมื่อซิลิคอนแข็งตัว จะได้เป็นแท่งซิลิคอนเป็นแบบผลึกรวม แล้วนำมาตัดเป็นแว่นๆ
2.              จากนั้นนำมาแพร่ซึมด้วยสารเจือปนต่างๆ และทำขั้วไฟฟ้าสองด้านด้วยวิธีการเช่นเดียวกับที่สร้างเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอนชนิดผลึกเดี่ยว
  • เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากที่ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอน มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.              ทำการแยกสลายก๊าซไซเลน (Silane Gas) ให้เป็นอะมอร์ฟัสซิลิคอน โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่อง Plasma CVD (Chemical Vapor Deposition) เป็นการผ่านก๊าซไซเลนเข้าไปในครอบแก้วที่มีขั้วไฟฟ้าความถี่สูง จะทำให้ก๊าซแยกสลายเกิดเป็นพลาสมา และอะตอมของซิลิคอนจะตกลงบนฐานหรือสแตนเลสสตีลที่วางอยู่ในครอบแก้ว เกิดเป็นฟิล์มบางขนาดไม่เกิน 1 ไมครอน (0.001 มม.)
2.              ขณะที่แยกสลายก๊าซไซเลน จะผสมก๊าซฟอสฟีนและไดโบเรนเข้าไปเป็นสารเจือปน เพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็นสำหรับใช้เป็นโครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์
3.              การทำขั้วไฟฟ้า มักใช้ขั้วไฟฟ้าโปร่งแสงที่ทำจาก ITO (Indium Tin Oxide)
  • เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากแกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.              ขั้นตอนการปลูกชั้นผลึก ใช้เครื่องมือ คือ เตาปลูกชั้นผลึกจากสถานะของเหลว (LPE; Liquid Phase Epitaxy)
2.              ขั้นตอนการปลูกชั้นผลึกที่เป็นรอยต่อเอ็นพี ใช้เครื่องมือ คือ เครื่องปลูกชั้นผลึกด้วยลำโมเลกุล (MBE; Molecular Beam Epitaxy)
ลักษณะเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์
  • ใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ก่อปฏิกิริยาที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  • เป็นการนำพลังงานจากแหล่งธรรมชาติมาใช้อย่างคุ้มค่าและไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้
  • สามารถนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทุกพื้นที่บนโลก และได้พลังงานไฟฟ้าใช้โดยตรง
  • ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ รวมถึงไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านอากาศและน้ำ
  • ไม่เกิดของเสียขณะใช้งาน จึงไม่มีการปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เกิดเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหวขณะใช้งาน จึงไม่เกิดมลภาวะด้านเสียง
  • เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และไม่มีชิ้นส่วนใดที่มีการเคลื่อนไหวขณะทำงาน จึงไม่เกิดการสึกหรอ
  • ต้องการการบำรุงรักษาน้อยมาก
  • อายุการใช้งานยืนยาวและประสิทธิภาพคงที่
  • มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว
  • เนื่องจากมีลักษณะเป็นโมดูล จึงสามารถประกอบได้ตามขนาดที่ต้องการ
  • ช่วยลดปัญหาการสะสมของก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจำพวกน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น เกิดฝนกรด และอากาศเป็นพิษ ฯลฯ
อุปกรณ์สำคัญของระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง จึงนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น หากต้องการนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับหรือเก็บสะสมพลังงานไว้ใช้ต่อไป จะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ อีก โดยรวมเข้าเป็นระบบที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์สำคัญๆ มีดังน
           1.  แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถวหรือเป็นชุด (Solar Array) เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ โดยการต่อกันแบบอนุกรม จะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และการต่อกันแบบขนาน จะเพิ่มพลังงานไฟฟ้า หากสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ก็จะมีผลให้ปริมาณของค่าเฉลี่ยพลังงานสูงสุดในหนึ่งวันไม่เท่ากันด้วย รวมถึงอุณหภูมิก็มีผลต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากอุณหภูมิสูงขึ้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะลดลง
2.              เครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller) ทำหน้าที่ประจุกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้าสู่แบตเตอรี่ และควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ด้วย ดังนั้น การทำงานของเครื่องควบคุมการประจุ คือ เมื่อประจุกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่จนเต็มแล้ว จะหยุดหรือลดการประจุกระแสไฟฟ้า (และมักจะมีคุณสมบัติในการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า กรณีแรงดันของแบตเตอรี่ลดลงด้วย) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่เท่านั้น
3.   แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ใช้เวลาที่ต้องการ เช่น เวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เวลากลางคืน หรือนำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆ แบตเตอรี่มีหลายชนิดและหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม
4.   เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับทุกชนิด และ Modified Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ไม่มีส่วนประกอบของมอเตอร์และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็น Electronic ballast
5.   ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection) ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อฟ้าผ่า หรือเกิดการเหนี่ยวนำทำให้ความต่างศักย์สูง ในระบบทั่วไปมักไม่ใช้อุปกรณ์นี้ จะใช้สำหรับระบบขนาดใหญ่และมีความสำคัญเท่านั้น รวมถึงต้องมีระบบสายดินที่มีประสิทธิภาพด้วย
การประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ
การนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานจากธรรมชาติมาทดแทนพลังงานรูปแบบอื่นๆ ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้น สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายในการดำรงชีวิต รวมถึงไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น
บ้านพักอาศัย
ระบบแสงสว่างภายในบ้าน, ระบบแสงสว่างนอกบ้าน (ไฟสนาม, ไฟโรงจอดรถ และโคมไฟรั้วบ้าน ฯลฯ), อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ , ระบบเปิด-ปิดประตูบ้าน, ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบระบายอากาศ, เครื่องสูบน้ำ, เครื่องกรองน้ำ และไฟสำรองยามฉุกเฉิน ฯลฯ
ระบบสูบน้ำ
อุปโภค, สาธารณูปโภค, ฟาร์มเลี้ยงสัตว์, เพาะปลูก, ทำสวน-ไร่, เหมืองแร่ และชลประทาน ฯลฯ
ระบบแสงสว่าง
โคมไฟป้ายรถเมล์, ตู้โทรศัพท์, ป้ายประกาศ, สถานที่จอดรถ, แสงสว่างภายนอกอาคาร และไฟถนนสาธารณะ ฯลฯ
ระบบประจุแบตเตอรี่
ไฟสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน, ศูนย์ประจุแบตเตอรี่ประจำหมู่บ้านในชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้, แหล่งจ่ายไฟสำหรับใช้ในครัวเรือนและระบบแสงสว่างในพื้นที่ห่างไกล ฯลฯ
ทำการเกษตร
ระบบสูบน้ำ, พัดลมอบผลผลิตทางการเกษตร และเครื่องนวดข้าว ฯลฯ
เลี้ยงสัตว์
ระบบสูบน้ำ, ระบบเติมออกซิเจนในบ่อน้ำ (บ่อกุ้งและบ่อปลา) และแสงไฟดักจับแมลง ฯลฯ
อนามัย
ตู้เย็น/กล่องทำความเย็นเพื่อเก็บยาและวัคซีน, อุปกรณ์ไฟฟ้าทางการแพทย์ สำหรับหน่วยอนามัย, หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสถานีอนามัย ฯลฯ
คมนาคม
สัญญาณเตือนทางอากาศ, ไฟนำร่องทางขึ้น-ลงเครื่องบิน, ไฟประภาคาร, ไฟนำร่องเดินเรือ, ไฟสัญญาณข้ามถนน, สัญญาณจราจร, โคมไฟถนน และโทรศัพท์ฉุกเฉิน ฯลฯ
สื่อสาร
สถานีทวนสัญญาณไมโครเวฟ, อุปกรณ์โทรคมนาคม, อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพา (เช่น วิทยุสนามของหน่วยงานบริการและทหาร) และสถานีตรวจสอบอากาศ ฯลฯ
บันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ
แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับบ้านพักตากอากาศในพื้นที่ห่างไกล, ระบบประจุแบตเตอรี่แบบพกพาติดตัวไปได้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิง ฯลฯ
พื้นที่ห่างไกล
ภูเขา, เกาะ, ป่าลึก และพื้นที่สายส่งการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ฯลฯ
อวกาศ
ดาวเทียม

ที่มา http://www.leonics.co.th

บทที่ 5 เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร


การสื่อสารเป็นการอาศัยการพูดคุย การส่งสัญลักษณ์ การส่งจดหมายการใช้สายตาและภาษากาย
การที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์การและการทำงานร่วมกันด้วยดีในองค์การต้องอาศัยการติดต่อสื่อสาร

ความหมายของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นกระบวนการที่นำเอาข่าวสารจากบุคคลหรือกลุ่มคนไปสู่บุคคลอื่นหรือกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน มินบ์ซเบิร์ก  กล่าวถึงบทบาทการติดต่อสื่อสารว่า
1.เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น เรากับเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชา
2.เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในองค์การหรือหน่วยงาน
3. เป็นการตัดสินใจ การสั่งการจากฝ่ายจัดการไปยังพนักง

ความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร

โครงสร้างการจัดการฯปตท.(บริหาร)

   บทที่ 2 องค์การ......โครงสร้างการจัดการฯปตท
                        

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง


การเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  (เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา)
                                 ชาวอเมริกาพยามสอนเด็กของตนให้คิดด้วยตนเอง ให้ค้นคว้า ให้สำรวจ ให้พัฒนาสติปัญญาและความคิดสร้าง
               สรรค์ของตนเด็กนักเรียนใช้เวลามากมายในการเรียนรู้ วิธีใช้วัสดุอุปกรณ์ ห้องสมุด สถิติและคอมพิวเตอร์
                ชาวอเมริกา เชื่อว่าถ้าสอนให้เด็กรู้จักใช้เหตุผลได้ดี พวกเขาก็สามารถค้นพบข้อมูลใด ๆ ที่ต้องการได้ตลอดชีวิต
                การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา ถือว่า สำคัญมากกว่าการสะสมข้อมูลซึ่งมักจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยในเวลาต่อมา
อ.ยุทต์

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ประมวลการสอน (Course Syllabus)

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ประมวลการสอน (Course Syllabus)

           รายวิชา   จิตวิทยาอุตสาหกรรม   รหัส   902-103

            (ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ   Industrial   Psychology)

           คณะ          เทคโนโลยี

          สาขาวิชา   เทคโนโลยียานยนต์
                           เทคโนโลยีไฟฟ้า
                           เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

          ผู้สอน   อาจารย์ กิจสดายุทต์   สังข์ทอง





วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ลักษณะรายวิชา


1. รหัสวิชา                   902-103
2. จำนวนหน่วยกิต      3 (3-0)               
3. ชื่อวิชา                        จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial   Psychology)
4. คณะ/สาขา               เทคโนโลยียานยนต์,เทคโนโลยีไฟฟ้า และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์                                      
5. ภาคการศึกษา           ภาคการศึกษาต้น      
6. ปีการศึกษา              2/2554
7. ผู้สอน                          อ. กิจสดายุทต์    สังข์ทอง
8.ห้องเรียน                     ห้อง 9605 เวลา  13.30 – 16.00 น.
                                    ห้อง 9602 เวลา  18.50 – 21.20 น.
9. สถานภาพรายวิชา                     หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป
10. ชื่อหลักสูตร(Curriculum)      เทคโนโลยีบัณฑิต
11. วิชาระดับ                                ปริญญาตรี
12. จำนวนคาบที่สอน/สัปดาห์     3 คาบ/สัปดาห์
13. คำอธิบายรายวิชา   
                ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์จิตวิทยาในองค์การอุตสาหกรรม ประสิทธิภาพขอการทำงาน 
ความพึงพอใจในการทำงาน  เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร การพัฒนาบุคลากร  การบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคล  การจัดสภาพแวดล้อมใน  การทำงาน อุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงาน  การศึกษาอุตสาหกรรม
 อย่างมีจริยธรรมแบบสัมมาชีพ
Course Description  
                            studies of psychology applied for the industrial organizations, work efficiency,
                            work satisfaction,  technique and method of communication,   personnel
                           development, personnel resources  maintenance, environments at work, accident
                            and safety for work, industrial study in ethical   and righteous ways.
14. วัตถุประสงค์
                     14.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป
        1.  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและความเป็นมาของทฤษฎีเกี่ยวกับ   
             จิตวิทยาอุตสาหกรรม และมีประสิทธิภาพในการทำงาน
2.              เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีทักษะความชำนาญเกิดความพึงพอใจ และมีเทคนิค  
วิธีสื่อสารในองค์การอุตสาหกรรม
3.              เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษาทรัพยากรบุคคล  และการบำรุงรักษาทรัพยากร 
              บุคคลในองค์การอุตสาหกรรม
4.              เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้การจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและลดอุบัติเหตุได้อย่างได้อย่างถูกต้อง
              5.   เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักรักษาความปลอดภัย มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ 
                    ต่อตนเองสังคมอย่างต่อเนื่องยิ่งๆขึ้นไปในการทำงานและการศึกษาอุตสาหกรรม

               14.2   วัตถุประสงค์เชิงคุณธรรม(Moral  Objectives )
-                   สามารถทำงานในองค์การอุตสาหกรรมและการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

15.          แผนการเรียน/แผนการสอน

สัปดาห์
หน่วยเรียน/บทเรียน/หัวข้อ
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อ/อุปกรณ์
การวัด/ประเมินผล
    สัปดาห์ที่1
29 พ.ย.54
    3 ธ.ค. 54






  สัปดาห์ที่2
6  ธ.ค.54
10  ธ.ค.54




- แนะนำวิชา และ อธิบายถึงโครงสร้างของวิชา
- บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- ลักษณะและความสำคัญของจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
- สาขาของจิตวิทยา

- แนวทางการศึกษาของนักจิตวิทยาที่สำคัญ
- ความหมายของจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- ประวัติจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- แนวความคิดหลักของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- หน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
  ให้นักศึกษาทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
-การแก้ปัญหา
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
   ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
   ศึกษาจากเอกสาร ตำรา
  วารสาร  รวมทั้งแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนด เช่นจิตวิทยาอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างไร และมีประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างไร?
-นศ.เรียนธรรมศึกษาควบคู่ด้วยกัน
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้บทที่1
- ทำแบบฝึกหัดที่  1
-แผ่นโปร่งใส
-เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint



-เอกสารประกอบการสอน
--Program Powerpoint
-ใบงาน
-แบบทดสอบ

-ความสนใจซักถาม
-อภิปราย
-การแก้ปัญหา
-วิเคราะห์
-แบบทดสอบ




-แสดงความดิดเห็น
-ซักถาม
-การแก้ปัญหา
-แบบฝึกหัด
สัปดาห์ที่3
13  ธ.ค.54
17  ธ.ค.54






สัปดาห์ที่4

    20 ธ.ค.54
    24 ธ.ค.54






สัปดาห์ที่5
   27 ธ.ค. 54
  31  ธ.ค.54




สัปดาห์ที่6
   3 ม.ค. 55
  7 ม.ค. 55













สัปดาห์ที่7
   10 ม.ค. 55
   14 ม.ค. 55



สัปดาห์ที่8
17 ม.ค. 55
21 ม.ค. 55







สัปดาห์ที่9



สัปดาห์ที่10
31 ม.ค. 55
 4 ก.พ. 55



สัปดาห์ที่11
   7 ก.พ. 55
11 ก.พ. 55



สัปดาห์ที่12
14 ก.พ. 55
 18 ก.พ. 55




สัปดาห์ที่13
21 ก.พ. 55
   25 ก.พ. 55




สัปดาห์ที่14
28 ก.พ.55
 3 มี.ค.55






สัปดาห์ที่15
   6 มี.ค.55
 10 มี.ค.55







สัปดาห์ที่16
13 มี.ค.55
17 มี.ค.55





สัปดาห์ที่17
20 มี.ค.55
24 มี.ค.55




สัปดาห์ที่ 18
บทที่ 2 การประยุกต์จิตวิทยาในองค์การอุตสาหกรรม
- มนุษย์และสังคมมนุษย์ในฐานะนักสังคมวิทยา
- ความหมายของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ประโยชน์ของการศึกษาสังคมมนุษย์
- กำเนิดมนุษย์
- ธรรมชาติมนุษย์
- โครงสร้างมนุษย์
- หน้าที่ของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ความต้องการของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม




บทที่ 3 ประสิทธิภาพของการทำงานอุตสาหกรรม
- ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
- ลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์


- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากกรรมพันธุ์
- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากสิ่งแวดล้อม












บทที่ 4 ความพึงพอใจในการทำงาน
- บุคลิกภาพ
- ทฤษฎีบุคลิกภาพ
- การประเมินบุคลิกภาพ

- บุคลิกภาพที่ดี
- บุคลิกภาพที่ไม่ดี
- การพัฒนาบุคลิกภาพ
- ทบทวนเนื้อหาก่อนสอบกลางภาค





สอบกลางภาค(Mid-term Examination) 31 ม.ค.-4 ก.พ.55


บทที่ 5 เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร
- ความหมายของการสื่อสาร
- ความหมายของการจูงใจ
- ทฤษฎีการจูงใจ
- รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจูงใจ

- ความพึงพอใจในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งเสริมแรงและการลงโทษ
- สิ่งล่อใจและประเภทของสิ่งล่อใจ

บทที่ 6 การพัฒนาและการบำรุงขวัญบุคลากร
- ความหมายของการพัฒนา
- ความหมายของขวัญในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งที่เป็นตัวกำหนดขวัญ


- ลักษณะของพนักงานที่มีขวัญที่ดีและไม่ดี
- การประเมินขวัญบุคลากรในการทำงาน
- การเพิ่มขวัญบุคลากรในการทำงาน


บทที่ 7 การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความหมายของการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความหมายของผู้นำ
- บทบาทของความเป็นผู้นำ
- ทฤษฎีความเป็นผู้นำ
- คุณธรรมของผู้นำ


-รูปแบบของความเป็นผู้นำ
- ความแตกต่างระหว่างผู้นำในกลุ่มต่าง ๆ
- การพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำที่ดี
- ความหมายของทีมงาน
- ประโยชน์ของทีมงาน
- ความขัดแย้ง


บทที่ 8 อุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงาน
- ความหมายของอุบัติเหตุและความปลอดภัย
- การเรียนรู้เรื่องความปลอดภัย
- การฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย
- เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย

- การป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
- การวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
- การฝึกอบรมเพื่อลดอุบัติเหตุในที่ทำงาน

สอบปลายภาค
(Final  Examination)
  (3  -7 เม.ย. 2555)


ให้นักศึกษาวิเคราะห์มนุษย์และสังคมมนุษย์ในฐานะนักสังคมวิทยาพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า จากเอกสาร ตำรา และ นำมา present หน้าชั้นเรียนรวมทั้งแสดงความคิดเห็น
ในเรื่อง Organization U.S.ขององค์การและร่วมกันสรุป
-นักศึกษาเข้าร่วมสอบธรรมศึกษา สนามหลวงที่สนามสอบวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ทั้ง 3ระดับ ชั้นตรี-โท-เอก
-- ทำแบบฝึกหัดที่  2




อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
  ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
 ศึกษาจากเอกสาร ตำราให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่กำหนด
- การบรรยาย
-มี Power Point
-ให้นักศึกษาทำ Report เรื่อง Competency  Need มี 4 หัวข้อ
-ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง(Ability to Learn &Adapt to Change)
-การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและถูกต้องตามระเบียบวินัย
-การให้ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม
-ด้านการบริหารจัดการทั่วไป
- สรุปบทเรียน
- ทำแบบฝึกหัดที่  3



- ให้นักศึกษาวิเคราะห์บุคลิกภาพ ดีหรือไม่ดีเป็นอย่างไรมีผลต่อตัวตนเองหรือไม่ ?
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
 ส่วนร่วมโดย มีการซักถามให้ผู้เรียนได้
 ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา และแสดงความคิดเห็น
- Test 1 = 10 คะแนน                                                
- ทำแบบฝึกหัดที่  4
- ทบทวนเนื้อหาก่อนสอบกลางภาค


เนื้อหาครั้งที่ 1-8 (บทที่ 1-4 )



- ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
-อธิบายพร้อมตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
   ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
   รวมทั้งแสดงความคิดเห็น
  ในหัวข้อที่กำหนด
-สรุปประเด็นสำคัญ
- ทำแบบฝึกหัดที่  5




- ให้ตัวแทนนักศึกษา Present  หน้าห้อง ว่า
    ความกระตือรือร้น
   และความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้อะไรในการทำงานได้บ้าง ?
  อะไรเป็นตัวกำหนดขวัญของบุคลากร?
- แสดงความคิดเห็น
- ให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
-ระดมสมองสรุปประเด็นสำคัญ
- ทำแบบฝึกหัดที่  6
- สรุปบทเรียน



- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
   ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
   ศึกษาจากเอกสาร ตำรา
  รวมทั้งแสดงความคิดเห็น
  ในหัวข้อที่กำหนด
    ภาวะผู้นำ,การทำงานได้ด้วยตัวเอง?
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- ทำแบบฝึกหัดที่  7
- สรุปบทเรียน









อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมโดย 
  ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
  ในหัวข้อที่กำหนด เช่น  
   อุบัติเหตุและความปลอดภัยมีส่วนสำคัญต่อชีวิตตนเองและผู้อื่นอย่างไร?
   การจัดลำดับความสำคัญของงานเกี่ยวตัวเราและผู้อื่นอย่างไร?
- ทำแบบฝึกหัดที่  8
-  ร่วมกันสรุปบทเรียนครั้งที่ 10-17 (บทที่ 5-8)และทบทวนเนื้อหาก่อนสอบปลายภาค


เนื้อหาครั้งที่  10-17
 (บทที่ 5 8 )
-แผ่นโปร่งใส
-เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint

-ใบงาน
-แบบทดสอบ
-เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint
-แบบทดสอบ




-เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint
-แบบทดสอบ


















-แบบทดสอบ
-เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint
-แบบทดสอบ













-เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint
-แบบทดสอบ







-เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint
-แบบทดสอบ










เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint
-แบบทดสอบ














เอกสารประกอบการสอน
-Program Powerpoint
-แบบทดสอบ


-ความสนใจ
 -ซักถาม
-อภิปราย
-วิเคราะห์
-แบบทดสอบ
บทเรียน













-ความสนใจ
 ซักถาม
-แบบฝึกหัด
-กิจกรรมกลุ่ม




















-ความสนใจซักถาม
-แบบฝึกหัด
-กิจกรรมกลุ่ม
















-ความสนใจ
-แบบรายงาน
-การประเมินจากการสังเกตการตอบของนักศึกษา








-ความสนใจ
-แบบรายงาน
-การประเมินจากการสังเกตการตอบของนักศึกษา











-ความสนใจ
-แบบรายงาน
-การประเมินจากการสังเกตการตอบของนักศึกษา















-ความสนใจ
-แบบรายงาน
-การประเมินจากการสังเกตการตอบของนักศึกษา



















แผนการสอน   (สำหรับอาจารย์)

สัปดาห์ที่
 หน่วยเรียน / บทเรียน / หัวข้อ
กิจกรรมการสอน / สื่อการสอน
การประเมินผลการเรียนการสอน
สัปดาห์ที่1
29 พ.ย.54
 3 ธ.ค. 54






สัปดาห์ที่2
6  ธ.ค.54
10  ธ.ค.54








สัปดาห์ที่3
13  ธ.ค.54
17  ธ.ค.54






สัปดาห์ที่4
    20 ธ.ค.54
    24 ธ.ค.54





สัปดาห์ที่5
   27 ธ.ค. 54
  31  ธ.ค.54




สัปดาห์ที่6
   3 ม.ค. 55
  7 ม.ค. 55
















สัปดาห์ที่7
   10 ม.ค. 55
   14 ม.ค. 55



สัปดาห์ที่8
17 ม.ค. 55
21 ม.ค. 55







สัปดาห์ที่9



สัปดาห์ที่10
31 ม.ค. 55
 4 ก.พ. 55



สัปดาห์ที่11
   7 ก.พ. 55
11 ก.พ. 55




สัปดาห์ที่12
14 ก.พ. 55
 18 ก.พ. 55




สัปดาห์ที่13
21 ก.พ. 55
   25 ก.พ. 55









สัปดาห์ที่14
28 ก.พ.55
 3 มี.ค.55




สัปดาห์ที่15
   6 มี.ค.55
 10 มี.ค.55







สัปดาห์ที่16
13 มี.ค.55
17 มี.ค.55






สัปดาห์ที่17
20 มี.ค.55
24 มี.ค.55




สัปดาห์ที่ 18




- แนะนำวิชา และ อธิบายถึงโครงสร้างของวิชา
- บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- ลักษณะและความสำคัญของจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
- สาขาของจิตวิทยา

- แนวทางการศึกษาของนักจิตวิทยาที่สำคัญ
- ความหมายของจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- ประวัติจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- แนวความคิดหลักของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- หน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- คำถามท้ายบท

บทที่ 2 การประยุกต์จิตวิทยาในองค์การอุตสาหกรรม
- มนุษย์และสังคมมนุษย์ในฐานะนักสังคมวิทยา
- ความหมายของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ประโยชน์ของการศึกษาสังคมมนุษย์
- กำเนิดมนุษย์
- ธรรมชาติมนุษย์
- โครงสร้างมนุษย์
- หน้าที่ของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ความต้องการของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม



บทที่ 3 ประสิทธิภาพของการทำงานอุตสาหกรรม
- ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
- ลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์


- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากกรรมพันธุ์
- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากสิ่งแวดล้อม

















บทที่ 4 ความพึงพอใจในการทำงาน
- บุคลิกภาพ
- ทฤษฎีบุคลิกภาพ
- การประเมินบุคลิกภาพ

- บุคลิกภาพที่ดี
- บุคลิกภาพที่ไม่ดี
- การพัฒนาบุคลิกภาพ
- ทบทวนเนื้อหาก่อนสอบกลางภาค






สอบกลางภาค(Mid-term Examination) 31 ม.ค.-4 ก.พ.55



บทที่ 5 เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร
- ความหมายของการสื่อสาร
- ความหมายของการจูงใจ
- ทฤษฎีการจูงใจ
- รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจูงใจ

- ความพึงพอใจในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งเสริมแรงและการลงโทษ
- สิ่งล่อใจและประเภทของสิ่งล่อใจ


บทที่ 6 การพัฒนาและการบำรุงขวัญบุคลากร
- ความหมายของการพัฒนา
- ความหมายของขวัญในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งที่เป็นตัวกำหนดขวัญ


- ลักษณะของพนักงานที่มีขวัญที่ดีและไม่ดี
- การประเมินขวัญบุคลากรในการทำงาน
- การเพิ่มขวัญบุคลากรในการทำงาน






บทที่ 7 การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความหมายของการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความหมายของผู้นำ
- บทบาทของความเป็นผู้นำ
- ทฤษฎีความเป็นผู้นำ
- คุณธรรมของผู้นำ
-รูปแบบของความเป็นผู้นำ
- ความแตกต่างระหว่างผู้นำในกลุ่มต่าง ๆ
- การพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำที่ดี
- ความหมายของทีมงาน
- ประโยชน์ของทีมงาน
- ความขัดแย้ง


บทที่ 8 อุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงาน
- ความหมายของอุบัติเหตุและความปลอดภัย
- การเรียนรู้เรื่องความปลอดภัย
- การฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย
- เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย

- การป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
- การวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
- การฝึกอบรมเพื่อลดอุบัติเหตุในที่ทำงาน


สอบปลายภาค
(Final  Examination)
  (3  -7 เม.ย. 2555)



  ให้นักศึกษาทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน
อธิบายพร้อมยกกรณีศึกษาเป็นตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
-ให้นักศึกษาดูโครงสร้างองค์การ
- ถามปัญหา ให้นักศึกษา  แสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนดเช่นจิตวิทยาอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างไร และมีประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างไร

-นศ.เรียนธรรมศึกษาควบคู่ด้วยกัน
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้บทที่1
- เฉลยแบบฝึกหัดที่  1



ซักถามปัญหา..ว่านักสังคมวิทยามองมนุษย์และสังคมมนุษย์อย่างไร
พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า จากเอกสาร ตำรา และ นำมา present หน้าชั้นเรียนรวมทั้งแสดงความคิดเห็น
และเข้าร่วมสอบธรรมศึกษา สนามหลวงที่สนามสอบวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ทั้ง 3ระดับ ชั้นตรี-โท-เอก
-- นศ.ค้นคว้าด้วยตนเอง
-- เฉลยแบบฝึกหัดที่ 2

-ถามคำถามว่า ประสิทธิภาพของการทำงานอุตสาหกรรมมีปัจจัยอะไรบ้าง?
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
  ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเอกสาร ตำรา และที่ต่างๆให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
- การบรรยาย
-มี Power Point
-ให้นักศึกษาทำ Report เรื่อง Competency  Need มี 4 หัวข้อ
-ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง(Ability to Learn &Adapt to Change)
-การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและถูกต้องตามระเบียบวินัย
-การให้ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม
-ด้านการบริหารจัดการทั่วไป
- สรุปบทเรียน
- เฉลยแบบฝึกหัดที่  3



- ให้นักศึกษาวิเคราะห์บุคลิกภาพ ดีหรือไม่ดีเป็นอย่างไรและมีผลต่อตัวตนเองหรือไม่ ?
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
 ส่วนร่วมโดย มีการซักถามให้ผู้เรียนได้
 ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา และแสดงความคิดเห็น
- Test 1 = 10 คะแนน                                                 
- เฉลยแบบฝึกหัดที่  4
- ทบทวนเนื้อหาสอบกลางภาค


เนื้อหาครั้งที่ 1-8 (บทที่ 1-4 )




- ซักถามนักศึกษา ความหมายของ เทคนิค,สื่อสาร,ทฤษฎีการจูงใจ ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นที่ตนเองเข้าใจ?
-อธิบายพร้อมตัวอย่างประกอบความหมายที่ถูกต้อง
- การบรรยาย
- การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
   ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
   รวมทั้งแสดงความคิดเห็น
  ในหัวข้อที่กำหนด
-สรุปประเด็นสำคัญ
- เฉลยแบบฝึกหัดที่  5

-ซักถามนักศึกษาความหมายของการพัฒนา,ความหมายของขวัญในงานอุตสาหกรรม คืออะไร?
 -ตัวแทนนักศึกษา Present  หน้าห้อง ว่า
      ความหมายของการพัฒนา   
      ความหมายของขวัญในงานอุตสาหกรรม
      ความกระตือรือร้น
   และความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้อะไรในการทำงานได้บ้าง ?
  อะไรเป็นตัวกำหนดขวัญของบุคลากร?
- แสดงความคิดเห็น
- ให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
-ระดมสมองสรุปประเด็นสำคัญ
- เฉลยแบบฝึกหัดที่  6
- สรุปบทเรียน

- ซักถามนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน,ความหมายของการจัดการคืออะไร?
-การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมี
   ส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
   ศึกษาจากเอกสาร ตำรา
  รวมทั้งแสดงความคิดเห็น
  ในหัวข้อที่กำหนด
    ภาวะผู้นำ,การทำงานได้ด้วยตัวเอง คืออะไร?
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- เฉลยแบบฝึกหัดที่  7
- สรุปบทเรียน



-ซักถามนักศึกษาเกี่ยวกับอุบัติเหตุและความปลอดภัยมีส่วนสำคัญต่อชีวิตตนเองและผู้อื่นอย่างไร?อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบพร้อมดูภาพและคลิป
- การบรรยาย
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมโดย 
  ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
  ในหัวข้อที่กำหนด เช่น  
   การจัดลำดับความสำคัญของงานเกี่ยวตัวเราและผู้อื่นอย่างไร?
- เฉลยแบบฝึกหัดที่  8
-  ร่วมกันสรุปบทเรียนครั้งที่ 10-17 (บทที่ 5-8)และทบทวนเนื้อหาก่อนสอบปลายภาค

เนื้อหาครั้งที่  10-17
 (บทที่ 5 8 )

- สุ่มถามความเข้าใจใน  ปัญหา และเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมก่อน
-สังเกตความสนใจให้ความร่วมมือของนศ.
-สุ่มถามความเข้าใจในความสำคัญของจิตวิทยาอุตสาหกรรม นักจิตวิทยาที่สำคัญ ประโยชน์ และประเด็นสำคัญแนวความคิดหลัก และหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
หลังเรียน







- แบบทดสอบ
- มนุษย์และสังคมมนุษย์ในฐานะนักสังคมวิทยา
- ความหมายของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ประโยชน์ของการศึกษาสังคมมนุษย์
- กำเนิดมนุษย์
- ธรรมชาติมนุษย์
- โครงสร้างมนุษย์
- หน้าที่ของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ความต้องการของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม




- แบบทดสอบ
- ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
- ลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากกรรมพันธุ์
- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากสิ่งแวดล้อม


















- แบบทดสอบ
- บุคลิกภาพ
- ทฤษฎีบุคลิกภาพ
- การประเมินบุคลิกภาพ

- บุคลิกภาพที่ดี
- บุคลิกภาพที่ไม่ดี
- การพัฒนาบุคลิกภาพ
- ทบทวนเนื้อหาก่อนสอบกลางภาค










- แบบทดสอบ
- ความหมายของการสื่อสาร
- ความหมายของการจูงใจ
- ทฤษฎีการจูงใจ
- รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจูงใจ

- ความพึงพอใจในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งเสริมแรงและการลงโทษ
- สิ่งล่อใจและประเภทของสิ่งล่อใจ



- แบบทดสอบ
- ความหมายของการพัฒนา
- ความหมายของขวัญในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งที่เป็นตัวกำหนดขวัญ
- ลักษณะของพนักงานที่มีขวัญที่ดีและไม่ดี
- การประเมินขวัญบุคลากรในการทำงาน
- การเพิ่มขวัญบุคลากรในการทำงาน









- แบบทดสอบ
- ความหมายของการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความหมายของผู้นำ
- บทบาทของความเป็นผู้นำ
- ทฤษฎีความเป็นผู้นำ
- คุณธรรมของผู้นำ
-รูปแบบของความเป็นผู้นำ
- ความแตกต่างระหว่างผู้นำในกลุ่มต่าง ๆ
- การพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำที่ดี
- ความหมายของทีมงาน
- ประโยชน์ของทีมงาน
- ความขัดแย้ง



- แบบทดสอบ
- ความหมายของอุบัติเหตุและความปลอดภัย
- การเรียนรู้เรื่องความปลอดภัย
- การฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย
- เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย

- การป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
- การวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
- การฝึกอบรมเพื่อลดอุบัติเหตุในที่ทำงาน






การวัดผลและประเมินผลการเรียน
                              จิตพิสัย                           10          คะแนน
                            แบบฝึกหัด                             10         คะแนน
                            รายงานกลุ่ม/เดียว           10          คะแนน
                            ทดสอบ                           10         คะแนน
                                สอบกลางภาคเรียน             30           คะแนน
                                สอบปลายภาคเรียน            30           คะแนน

การประเมินผลการเรียน  ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและเลือกว่าจะใช้แบบใดในการตัดเกรดเป็นสำคัญ
                                     – ใช้วิธี อิงเกณฑ์ค่าระดับคะแนน  กำหนดค่าระดับคะแนนร้อยละตามเกณฑ์   ดังนี้
                                              คะแนนร้อยละ   80  ขึ้นไป         ได้      เกรด       A
                                              คะแนนร้อยละ   75 - 79             ได้       เกรด       B 
                                              คะแนนร้อยละ   70 - 74             ได้       เกรด       B
                                              คะแนนร้อยละ   65 - 69             ได้       เกรด       C
                                              คะแนนร้อยละ   60 – 64             ได้       เกรด       C
                                              คะแนนร้อยละ   55 - 59              ได้       เกรด       D
                                               คะแนนร้อยละ  50 -  54             ได้       เกรด       D
                                              คะแนนร้อยละ     0  - 49             ได้       เกรด       F
                                                                                      หรือ
-                   ใช้วิธี Normalized T- Score (เกณฑ์คะแนนมาตรฐานและ T- Score ร่วมกัน)  

เงื่อนไขรายวิชา (ถ้ามี) เช่น การแต่งกาย เวลาในการขาดเรียน
    1. นักศึกษาจะต้องมีความตรงต่อเวลา และห้ามเข้าชั้นเรียนสายเกิน  15 นาที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
    (จะต้องมีร่องรอยหลักฐานมาแสดง) หากเข้าชั้นเรียนสายเกิน 15  นาที่ ถือว่าขาดเรียนในคาบนั้นๆ
   2. ถ้านักศึกษา ขาดเรียนเกินกำหนด (3 ครั้ง) โดยไม่มีเหตุจำเป็น และไม่มีใบรับรองแพทย์หรือ 
       ผู้ปกครอง ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการประเมินผล

หนังสือและเอกสารอ้างอิง
     1. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ “จิตวิทยาอุตสาหกรรม” กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ศูนย์สงเสริมวิชาการ
    2. ชนิดา  ยอดดี  จิตวิทยาการทำงาน  กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์ บริษัท สำนักพิมพ์เอ็มพันธ์จำกัด 2543
    3. ศ.ดร.ธีรวุฒิ  บุณยโสภณ  จิตวิทยาอุตสาหกรรมประยุกต์  กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์  สถาบัน
        เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
   4. พระธรรมปิฎก  พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยังยืน  กรุงเทพมหานคร  โรงพิมพ์                    
        บริษัท  สหธรรมมิก  จำกัด  2537
   5. ดร.ดำรงศักดิ์  หมื่นจักร์  และดร.ศรีสง่า   กรรณสูตร  จิตวิทยาธุรกิจ (จิตวิทยากับอุตสาหกรรม) 
       กรุงเทพมหานคร  โรงพิมพ์  หจก. มณฑลการพิมพ์
   6. รศ.นพคุณ นิสามณี จิตวิทยาอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์ ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบัน
       เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
   7.  พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์  จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   8. ดร.สุรพล พยอมแย้ม จิตวิทยาอุตสาหกรรมกรุงเทพมหานคร  พิมพ์ที่โครงการส่งเสริมผลิตตำราและ
      เอกสารการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิปกร
   9. รศ.อำนวย   แสงสว่าง   จิตวิทยาอุตสาหกรรม  (Industrial  Psychology)  กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์     
         หจก. ทิพยวิสุทธิ์  2544
10.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง “Compentency Need” วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กรุงเทพมหานคร
11.McCormick,Ernest J.,llgen, Daniel R., Industrial Psychology., New Jersy:Prentice Hall.,Inc.,1980.
12.Deci,E.L.,Methods for the study of behavior in organization,In Gilmer, B.V.H and Deci,E.L.(eds.)Industrial
      and Organizational Psychology, McGraw-Hill  Book Co., NewYork,1977,pp.25-36.J



ลงชื่อผู้จัดทำ

--------------------------------------------------
(.................................................)
    …..……./….……./…..…..

หัวหน้าสาขาวิชา

---------------------------------------------------
(.................................................)
…..……./….……./…..…..
คณบดีอนุมัติ

-----------------------------------------------
(.................................................)
…..……./….……./…..…..