วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555


     วิชา จิตวิทยาอุตสาหกรรม
นักศีกษา ที่เรียน วันพฤหัสบดี  เช้า สาขา ทย.454 และ ทค.453 วิชา จิตวิทยาอุตสาหกรรม  เดิมเรียนห้อง 9604  เวลา 08.30-11.00 น.เรียนรวม กันทั้งหมด 2 กลุ่ม ย้ายมาเรียนห้อง 9601 วัน พุธ เวลาเดิม ทั้ง 2 กลุ่ม  ครับ
                                                     ประกาศโทรศัพท์แจ้งแล้ว
                                                              อ.ยุทต์ (29 ก.ย.55)
                                                              Phone 086-983-6514

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มคอ.3

มคอ.3

รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา         วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา คณะเทคโนโลยี/สาขาวิชายานยนต์,เทคโนคอมพิวเตอร์ และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป
1.  รหัสและชื่อรายวิชา
                902-103 จิตวิทยาอุตสาหกรรม
2.  จำนวนหน่วยกิต
                3 หน่วยกิต  (3-0-6)

3.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

                หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต วิชาบังคับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
               ตอนเรียนที่   อาจารย์ กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
 5.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
              ภาคการศึกษาต้น/ปลาย ปีที่ ชั้นปีที่ 3
6.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (ถ้ามี)
            ไม่มี
7.  วิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (co-requisites) (ถ้ามี)
           ไม่มี
8.  สถานที่เรียน
            วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม   ตึก 9
9.  วันที่จัดทำรายละเอียดของรายวิชา หรือวันที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุด
        3  มกราคม  2555
หมวดที่ 2  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1.              จุดมุ่งหมายของรายวิชา
               นักศึกษาเข้าใจหลักทฤษฎีจิตวิทยาอุตสาหกรรม การทำงานมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจ    
                 มีเทคนิควิธีสื่อสารในองค์การ  จัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน  ป้องกันอุบัติเหตุและดำเนินชีวิตใน
                 หน้าที่การงานได้อย่างมีคุณธรรม ความสงบสุขด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 
       1. 1  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและความเป็นมาของทฤษฎีเกี่ยวกั จิตวิทยา
อุตสาหกรรม และมีประสิทธิภาพในการทำงาน
1.2     เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะความชำนาญเกิดความพึงพอใจ และมีเทคนิควิธีสื่อสารในองค์กาอุตสาหกรรม
      1.3  เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาทรัพยากรบุคคล  และการบำรุงรักษาทรัพยากบุคคลในองค์การ-
อุตสาหกรรม
1.4  เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้การจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและลดอุบัติเหตุได้อย่าง
                ได้อย่างถูกต้อง
1.5  พื่อให้นักศึกษารู้จักรักษาความปลอดภัย มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองสังคอย่างต่อเนื่องยิ่งๆขึ้นไปในการทำงานและการศึกษาอุตสาหกรรม

2.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
              1.  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสามารถในการเรียนรู้  และพัฒนาตนเอง
             (Ability to Learn & Adapt to change)เช่นการมุ่งมันสู่ความสำเร็จ(Achievement Motivation)
ความกระตื้นรื้น(Energetic)ความมั่นใจในตัวเอง(Self- Confidence) ความน่าเชื่อถือหรือไว้ว่าใจได้
(Trust)การทุ่มเทในการทำงาน(Dedication to work)ทัศนคติเชิงบวกต่องาน(Positive attitude to
work)
                2.  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและถูกต้องตาม 
             ระเบียบวินัย การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากร(Resources Utilization),การปฏิบัติตาม
             กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน(Following Rules&Regulation)
             3.  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมกับการประกอบอาชีพต่างๆ
            
หมวดที่ 3  ส่วนประกอบของรายวิชา
 1.  คำอธิบายรายวิชา
           ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์จิตวิทยาในองค์การอุตสาหกรรมประสิทธิภาพขอการทำงาน  ความพึงพอใจในการทำงาน  เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร การพัฒนาบุคลากร  การบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคล  การจัดสภาพแวดล้อมใน  การทำงาน อุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงาน  การศึกษาอุตสาหกรรม อย่างมีจริยธรรมแบบสัมมาชีพ

Course Description  
                            studies of psychology applied for the industrial organizations, work efficiency,
                            work satisfaction,  technique and method of communication,   personnel
                           development, personnel resources  maintenance, environments at work, accident
                            and safety for work, industrial study in ethical   and righteous ways.
2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้/ภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
45 ชั่วโมง
ไม่มี
ไม่มี
90 ชั่วโมง

3.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
     - อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
     - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1ชั่วโมงต่อสัปดาห์               
        (เฉพราะรายที่ต้องการ)
หมวดที่ 4  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

1.  คุณธรรม จริยธรรม
1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
                      ปลูกฝังความมีวินัย การทำงานได้ด้วยตัวเอง ตรงต่อเวลา ใฝ่รู้  ความซื่อสัตย์ และ ความ
                    รับผิดชอบ
            1.2  วิธีการสอน
  1.2.1  การอธิบาย/บรรยาย
  1.2.2  การอภิปราย/การใช้เหตุผล                             
           1.2.3  การศึกษาค้นคว้ารายบุคคลหรือกลุ่ม
            1.2.4  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
            1.2.5  การใช้สื่อประกอบการสอน
            1.3  วิธีการประเมิน
                ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน

2.  ความรู้
               2.1  ความรู้ที่จะได้รับ
                      ความรู้และทักษะเกี่ยวกับทฤษฏี การแก้ปัญหา ความสำคัญเกี่ยวกับการประยุกต์จิตวิทยาในองค์การอุตสาหกรรมประสิทธิภาพขอการทำงาน  ความพึงพอใจในการทำงาน  เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร การพัฒนาบุคลากร  การบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคล  การจัดสภาพแวดล้อมใน  การทำงาน อุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงาน  การศึกษาอุตสาหกรรม อย่างมีจริยธรรมแบบสัมมาชีพที่เหมาะสมกับผู้เรียนและมาตรฐานการเรียนรู้ในบริบทของสถาบัน

            2.2  วิธีการสอน
                           การบรรยาย  การอภิปราย   การทำรายงานเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งกรณีศึกษาและ/หรือเชิญวิทยากรมาบรรยาย
                2.3  วิธีการประเมิน
                      ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา  การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การสอบกลางภาคและปลายภาค   

3.  ทักษะทางปัญญา
            3.1  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                     คิดสะท้อน (reflective thinking) คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบรูณาการองค์ความรู้จากการถาม-ตอบ ด้านทฤษฎีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง(Continuous Learning)และการควบคุมอารมณ์( Emotional Control)
            3.2  วิธีการสอน
                      ใช้กระบวนการกลุ่มในการ อธิบาย อภิปราย สะท้อนความคิด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การทำใบงานต่าง ๆ ที่มอบหมาย  ตลอดภาคการศึกษา
            3.3  วิธีการประเมิน   
                ประเมินจากการเรียนการสอน การแสดงความคิดเห็นและการอภิปราย รายงานรายบุคคลและรายกลุ่ม  นำเสนอหน้าชั้นเรียนและจัดส่งผลการวิเคราะห์งานใบงานทุกสัปดาห์

4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                     มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
                4.2  วิธีการสอน
                      ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ อภิปราย/บรรยาย ถามตอบ และค้นคว้า ในชั้นเรียนและห้องสมุด
4.3  วิธีการประเมิน
                      ประเมินจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน และประเมินจากผลการทำกิจกรรมกลุ่มและทำรายงาน

5.  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศ
5.1  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศที่ต้องพัฒน
     ใช้ภาษาพูด  ภาษาเขียน ในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและถ่ายทอดภาษาและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2  วิธีการสอน
                       การสอนโดยใช้ power point ประกอบการบรรยาย การทำรายงานโดยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ   
     เอกสาร และอินเตอร์เน็ต
5.3  วิธีการประเมิน
               ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย  การเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงาน
หมวดที่ 5  แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
1
- บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา-อุตสาหกรรม
- ลักษณะและความสำคัญของจิตวิทยา-อุตสาหกรรม
- วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
- สาขาของจิตวิทยา
3
-ให้นักศึกษาทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน
-แนะแนววิธีการศึกษา
-อธิบายโครงสร้างของวิชาพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การแก้ปัญหา
- นักศึกษาส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร แลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนด เช่นจิตวิทยาอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างไร และมีประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างไร?
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ส.1

อ.กิจสดายุทต์ 
สังข์ทอง
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
2

- แนวทางการศึกษาของนักจิตวิทยาที่สำคัญ
- ความหมายของจิตวิทยา
อุตสาหกรรม
- ประวัติจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- แนวความคิดหลักของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- หน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
- คำถามท้ายบท

3

-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
- นักศึกษาส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้
ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร แลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนด เช่นความหมายของจิตวิทยาอุตสาหกรรมคืออะไร และประวัติจิตวิทยาอุตสาหกรรมมีความเป็นมาอย่างไร?
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ส.2
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1และ2

อ.กิจสดายุทต์ 
สังข์ทอง

3





บทที่ 2 การประยุกต์จิตวิทยาในองค์การอุตสาหกรรม
- มนุษย์และสังคมมนุษย์ในฐานะนักสังคมวิทยา
- ความหมายของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ประโยชน์ของการศึกษาสังคมมนุษย์
- กำเนิดมนุษย์เนื้อหา
3





-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
ให้นักศึกษาวิเคราะห์มนุษย์และสังคมมนุษย์ในฐานะนักสังคมวิทยาพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมโดย ให้ศึกษา ค้นคว้า จากเอกสาร ตำรา และInternes งานมอบหมายรื่อง Organization U.S.ขององค์การแล้วนำมา present หน้าชั้นเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
-ให้นศ.ช่วยกันสรุป
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง






4






สัปดาห์ที่
- ธรรมชาติมนุษย์
-โครงสร้างมนุษย์
- หน้าที่ของมนุษย์ในองค์การอุตสาหกรรม
- ความต้องการของมนุษย์ใน
องค์การอุตสาหกรรม
- คำถามท้ายบท
เนื้อหา
3






จำนวนชั่วโมง
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ส.2
- ทำแบบฝึกหัดที่  2



กิจกรรมการเรียน
การสอน
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง







ผู้สอน
5
บทที่ 3 ประสิทธิภาพของการทำงานอุตสาหกรรม
- ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
- ลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
อ.กิจสดายุทต์ 
สังข์ทอง
6
- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากกรรมพันธุ์
- ความแตกต่างระหว่างบุคคลจากสิ่งแวดล้อม
- คำถามท้ายบท
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  2
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
7
บทที่ 4 ความพึงพอใจในการทำงาน
- บุคลิกภาพ
- ทฤษฎีบุคลิกภาพ
- การประเมินบุคลิกภาพ
- บุคลิกภาพที่ดี
- บุคลิกภาพที่ไม่ดี
- การพัฒนาบุคลิกภาพ
- คำถามท้ายบท
- ทบทวนก่อนสอบกลางภาค
6
-บรรยาย
- การวิเคราะห์จุดเด่นและด้อยบุคลิกภาพของตนเอง
-มอบหมายรายงาน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
-TEST 1
-สรุปบทเรียนบทที่1-4
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
8
       สอบกลางภาค
       (24 -28 .ค.  2555)
3
เนื้อหาครั้งที่ 1-8 
(บทที่ 1 4 )
อ.กิจสดายุทต์ 
สังข์ทอง
9
บทที่ 5 เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร
- ความหมายของการสื่อสาร
- ความหมายของการจูงใจ
- ทฤษฎีการจูงใจ -รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจูใจ
3





-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง

สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
10
 - ความพึงพอใจในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งเสริมแรงและการลงโทษ
- สิ่งล่อใจและประเภทของสิ่งล่อใจ
- คำถามท้ายบท
3
-บรรยาย
- ฝึกการวิเคราะห์ทฤษฎีต่าง ๆ
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  2
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
11
บทที่ 6 การพัฒนาและการบำรุงขวัญบุคลากร
- ความหมายของการพัฒนา
- ความหมายของขวัญในงานอุตสาหกรรม
- สิ่งที่เป็นตัวกำหนดขวัญ
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
12
- ลักษณะของพนักงานที่มีขวัญที่ดีและไม่ดี
- การประเมินขวัญบุคลากรในการทำงาน
- การเพิ่มขวัญบุคลากรในการทำงาน
- คำถามท้ายบท
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  2
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
13
บทที่ 7 การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความหมายของการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความหมายของผู้นำ
- บทบาทของความเป็นผู้นำ
- ทฤษฎีความเป็นผู้นำ
- คุณธรรมของผู้นำ
3
-อภิปราย
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
14



สัปดาห์ที่
-รูปแบบของความเป็นผู้นำ
- ความแตกต่างระหว่างผู้นำในกลุ่มต่าง ๆ
- การพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำที่ดี

เนื้อหา
3



จำนวนชั่วโมง
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมาย
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  2

           กิจกรรมการเรียน
การสอน
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง




ผู้สอน

- ความหมายของทีมงาน
- ประโยชน์ของทีมงาน
- ความขัดแย้ง
  - คำถามท้ายบท



อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
15
บทที่ 8 อุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงาน
- ความหมายของอุบัติเหตุและความปลอดภัย
- การเรียนรู้เรื่องความปลอดภัย
- การฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย
- เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย
- การป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
- การวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
- การฝึกอบรมเพื่อลดอุบัติเหตุในที่ทำงาน
- คำถามท้ายบท
- ทบทวนเนื้อหาก่อนสอบปลายภาค
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-สรุปบทเรียนบทที่5-8
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
16

สอบปลายภาค            (18  -22 .ย. 2555)          เนื้อหาครั้งที่  10-17 (บทที่ 5 8 )












2.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้*
วิธีการประเมิน
กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)
สัดส่วนของการประเมินผล
1
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้าการนำเสนอรายงาน
นำเสนอรายงาน
ตลอดภาคการศึกษา
20

การทำงานกลุ่มและผลงาน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความเห็นในชั้นเรียน
การส่งงงานตามมอบหมาย



2
ทดสอบย่อย
บทที่1-4
7
10
3
ความรู้
สอบกลางภาค    
9
30
4
ความรู้
สอบปลายภาค
18
30
5
ความรับผิดชอบ
การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา
ตลอดภาคการศึกษา
10
* ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาของรายละเอียดของหลักสูตร (แบบ มคอ. 2)
                                หมวดที่ 6  ทรัพยากรประกอบการเรียน
1.  ตำราและเอกสารหลัก
               1. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ “จิตวิทยาอุตสาหกรรม” กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ศูนย์สงเสริม
                      วิชาการ
                    2. ชนิดา  ยอดดี  จิตวิทยาการทำงาน  กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์ บริษัท สำนักพิมพ์เอ็มพันธ์
                     จำกัด 2543
                  3. ศ.ดร.ธีรวุฒิ  บุณยโสภณ  จิตวิทยาอุตสาหกรรมประยุกต์  กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์       
                     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
                 4. พระธรรมปิฎก  พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยังยืน  กรุงเทพมหานคร  โรงพิมพ์                   
                     บริษัท  สหธรรมมิก  จำกัด  2537
                 5. ดร.ดำรงศักดิ์  หมื่นจักร์  และดร.ศรีสง่า   กรรณสูตร  จิตวิทยาธุรกิจ (จิตวิทยากับ 
                    อุตสาหกรรม)  กรุงเทพมหานคร  โรงพิมพ์  หจก. มณฑลการพิมพ์
                 6. รศ.นพคุณ นิสามณี จิตวิทยาอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์ ศูนย์ผลิตตำราเรียน
                     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
                 7.  พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์  “จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
                 8. ดร.สุรพล พยอมแย้ม จิตวิทยาอุตสาหกรรมกรุงเทพมหานคร  พิมพ์ที่โครงการส่งเสริมผลิต
                     ตำราและ เอกสารการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิปกร
                 9. รศ.อำนวย   แสงสว่าง   “จิตวิทยาอุตสาหกรรม  (Industrial  Psychology)  กรุงเทพมหานคร 
                     โรงพิมพ์ หจก. ทิพยวิสุทธิ์  2544
                10. รศ.ดร.ปรียาพร  วงค์อนุตรโรจน์ จิตวิทยาอุตสาหกรรม  (Industrial  Psychology)  กรุงเทพมหานคร 
                     พิมพ์ บริษัทพิมพ์ดีจำกัด  2553
                11. กิจสดายุทต์ สังข์ทอง “Compentency Need” วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กรุงเทพมหานคร
                12.McCormick,Ernest J.,llgen, Daniel R., Industrial Psychology., New Jersy:Prentice
                     Hall.,Inc.,1980.
                13.Deci,E.L.,Methods for the study of behavior in organization,In Gilmer, B.V.H and
                     Deci,E.L.(eds.)Industrial and Organizational Psychology, McGraw-Hill  Book Co.,  
                     NewYork,1977,pp.25-36.J

1                 เอกสารและข้อมูลสำคัญ
            ไม่มี
2                 เอกสารและข้อมูลแนะนำ
      เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น http:// Industrial  Psychology -stu.blogspot.com, http://www.pantown.com/, http://dit.dru.ac.th เป็นต้น

หมวดที่ 7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
                1.1  ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
                1.2  สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาในสัปดาห์สุดท้าย
1.3  ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนในสัปดาห์สุดท้าย
2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
1.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
1.2 ผลการสอบ
3.  การปรับปรุงการสอน
                3.1  นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอน
3.2  ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆนำมาใช้ในการสอน
3.3  กลุ่มคณาจารย์จัดอภิปราย/สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระวิชาและการสอนให้เหมาะสม
      และน่าสนใจ


4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนิสิต
                4.1  ให้นักศึกษาได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
4.2  ก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค จัดประชุมคณาจารย์เพื่อออกข้อสอบร่วมกับการพัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน
5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป