วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ในวงจร PDCA

ในวงจร PDCA คุณว่าขั้นตอนใดควรใช้เวลาให้มากที่สุด
       P = Plan , D = Do , C = Check , A =  Act  
       ระหว่างนายก. และนาย ข. ใครจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากกว่ากัน
การวางแผนจะช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมและป้องกันข้อผิดพลาด ความสูญเสีย และความสูญเปล่าในการทำงานได้  ถ้าการวางแผนงานไม่ดี  เราอาจจะทำขั้นตอน Do ได้รวดเร็วกว่า แต่กลับจะต้องสูญเสีย เสียเวลาในการตรวจสอบและกลับมาแก้ไขข้อผิดพลาดมากขึ้น  ทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่จะได้ไม่เป็นไปตามแผนงาน  ดังนั้น Do Right thing at the first time เป็นเรื่องที่ดีกว่า
 จะเห็นว่าที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1- 16 เป็นขั้นตอนการ P และ เมื่อนำแผนไป D แล้ว ขั้นตอนที่ 17 เป็นขั้นตอนการ C และ A 
ในที่นี้เราใช้ KPI เป็นตัว Check นอกจากนี้  ยังต้องประเมินถึง  ผลที่ได้ (Outcome)  ระยะเวลาคืนทุน ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่จะได้รับด้วย
สรุปขั้นตอนการแปลงวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ เป็นดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์ คือ ทิศทางที่ผู้นำองค์กรต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับองค์กรในอนาคต    เป็นการวางแผนระยะยาวขององค์กร  ซึ่งควรมีการปรับเปลี่ยนประมาณ 5 ปี ต่อครั้ง แต่ปัจจุบัน อาจจะต้องมีการพิจารณาถี่มากขึ้น  เพราะปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าเดิม  จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เพื่อฉกฉวยโอกาส  หรือ  ขจัดอุปสรรคทีขวางกั้นองค์กร 
2. กำหนดพันธกิจ คือ แนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์  เป็นการวางแผนในระยะสั้น ต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  ซึ่งควรมีการพิจารณาทบทวนประมาณ 3 ปีต่อครั้ง หรืออาจจะปีละ 1 ครั้ง เพื่อใช้ในการสร้างกลยุทธ์ขององค์กร
3. กำหนดค่านิยม คือ นิสัยที่องค์กรต้องการสร้างให้พนักงานทุกคนในองค์กรปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กร
   กำหนดปรัชญา คือ เจตนารมณ์ในการก่อตั้งองค์กร 
4. กำหนดวัตถุประสงค์  คือ  การกำหนดสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากพันธกิจ  เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมาย
5. วิเคราะห์ปัจจัยภายใน / ภายนอก และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีผลต่อองค์กรแล้วหามาตรการหรือกลยุทธ์ในการฉกฉวยโอกาสหรือป้องกันอุปสรรคที่จะขัดขวางองค์กร  อาจจะต้องมีการพิจารณาทุกปีเช่นกัน
6. กำหนดเป้าหมาย คือ ตัววัดและเกณฑ์ที่องค์กรต้องการจะไปให้ถึง  ซึ่งต้องกำหนดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และ กำหนดเป็นตัวเลข  จะใช้วิธีการกำหนดเป็นเป้าหมายประจำปี หรือ ตั้งเป้าหมายล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 3 ปี แล้วแบ่งเป้าหมายนั้นออกมาเป็นเป้าหมายประจำปีจะยิ่งดีมากขึ้น  จากนั้นกำหนดกลยุทธ์ประจำเป้าหมายแต่ละเรื่องขึ้นมา 
จัดประเภทของเป้าหมายเป็น 4 ด้านตาม Balance scorecard รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม  แล้วทำการคัดเลือกกลยุทธ์ของแต่ละด้าน
นอกจากนี้ เป้าหมายประจำปีควรมีการพิจารณากันใหม่ทุกปี เพื่อปรับเป้าหมายให้สูงขั้นเรื่อย ๆ  หลังจากที่มีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการของแต่ละปีแล้ว
7. จัดทำแผนกลยุทธ์ ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ ควรทำการพิจารณาใหม่ทุกปีเช่นกัน
8. จัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละฝ่าย แล้วทำการติดตามผล ซึ่งควรจะมีการพิจารณากันทุกไตรมาส


จะเห็นว่าเมือผ่านขั้นตอนเหล่านี้มาแล้วเราจะได้แผนกลยุทธ์ที่ทำหน้าที่แปลงวิสัยทัศน์ของผู้นำมาสู่การปฏิบัติจริง  ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ตามทิศทางที่ผู้นำกำหนด และเป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในระบบบริหารคุณภาพที่สำคัญ เช่น ISO 9000 , TQM , TQA  ซึ่งต่างก็มีหลักการในการวางแผนกลยุทธ์คล้ายคลึงกัน  แต่มีเทคนิคและวิธีการแตกต่างกันไป  เทคนิคการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่กล่าวมาแล้วแล้วนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น
หน้าที่ของผู้นำที่สำคัญ คือ ต้องรับรู้ข่าวสารทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรแล้วสามารถวิเคราะห์สถานการณ์  เพื่อชี้ทิศทางและนำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง  ดังนั้นผู้นำต้องมีสายตากว้างไกล ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าวิสัยทัศน์
ผู้นำของประเทศเวียตนาม  ประกาศเป้าหมายจะพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมภายในเวลา 13 ปีนับต่อจากปีนี้ไป  เขาต้องการจะมีสนามบินประจำชาติที่ใหญ่กว่าสนามบินสุวรรณภูมิ  ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมากและเป็นไปได้
วิสัยทัศน์ของผู้นำเวียตนามครั้งนี้ ก่อให้เกิดความตื่นตัวของนักลงทุนต่างชาติ แห่กันเข้าไปจับจองลงทุนในประเทศนี้ เพื่อฉกฉวยโอกาส  ใครเข้าไปก่อนได้เปรียบกว่า 
สิ่งที่เวียตนามคาดว่าจะได้รับ คือ เทคโนโลยีและความรู้ทางด้านอุตสาหกรรมที่ต่างชาติจะต้องถ่ายทอดให้พวกเขา  และเขากำลังจะเจริญรอยตาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
เมื่อไม่นานมานี้  ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการตรวจพับบาร์ที่เปิดเกินเวลาในเวียตนาม  และมีนักเที่ยววัยรุ่นจำนวนมากที่ตรวจพบสารเสพติด  ทำให้ได้ข้อคิดเตือนใจว่า  การพัฒนาทางด้านวัตถุควรควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านจิตใจเสมอ

ทายนิสัยจากสีผ้าปูที่นอน

ทายนิสัยจากสีผ้าปูที่นอนสีผ้าปูที่นอน ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เชื่อมมั้ยว่าสามารถสะท้อนความเป็นตัวของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยเชียวล่ะ ที่แน่ๆ หากคุณอากจะเจาะใจเพื่อนสนิทหรือเพื่อนรู้ใจแบบส่วนตั๊วส่วนตัวก็ลองไปดูสีผ้าปูที่นอนของเค้าดูสิ มันจะช่วยให้คุณเห็นอะไรในตัวเค้าได้เยอะเลยล่ะครับ
1. สีแดง
          สีร้อนแรงน่าดู คุณหรือใครก็ตามที่ใช้ผ้าปูนที่นอนสีแดง แสดงว่าคุณเป็นคนน่ารักมาก ๆ แถมยังตกหลุมรักใครต่อใครอยู่บ่อยๆ ในขณะเดียวกันก็อยากเป็นคนที่ถูกรักซะด้วยสิครับ
2.สีครีม
          ใครที่ใช้ผ้าปูที่นอนสีครีม บ่งบอกได้เลยว่าคุณมีสัญชาตญาณนักแข่งอยู่ในสายเลือดไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะชอบการแข่งขันอยู่เสมอเลยล่ะ ยิ่งเวลาเจอคนที่ใช่...ไม่มีทางจะหลุดมือคุณไปได้เลย
3. สีเขียว
         คนที่ใช้ผ้าปูนอนสีเขียวแสดงว่าเป็นที่กล้าแสดงออกมากๆ  เปิดเผยความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา และป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเองอยู่พอสมควร แต่ก็ขี้อ้อนทำให้คนที่อยู่ใกล้ใจอ่อนซะทุกทีสินะ
4. สีฟ้า
         คนที่ใช้ผ้าปูนอนสีฟ้าเป็นคนที่รักการท่องเที่ยว ผจญภัย แถมยังอารมณ์แปรปรวนง่าย สุดๆ เป็นคนที่ไม่ชอบฝืนใจัวเอง หากเจอะคนที่ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ จบความสัมพันธ์อย่างเร่งด่วนเลยที่เดียว






 5. สีชมพู
            ใครที่ใช้ผ้าปูสีชมพูเป็นคนที่โรแมนติกมากๆ ช่างจิตนาการก็เท่านั้น  มีความุ่งมั่นในเรื่องความรักสูง และพร้อมที่จะมีความรักได้ตลอดเวลาเลยนะ

 6.สีเหลือง
              ผ้าปูนอนสีเหลืองบ่งบอกชัดเจนถึงความเป็นคนอ่อนหวานและใสซื่อ แต่ไม่ใช้คนหัวอ่อนนะ มีความุ่งมั่นในการทำงาน ชอบที่จะมีความรักแบบโรแมนติกซะด้วยซิ
7.สีส้ม
       มักจะเป็นคนที่จริงจังกับชีวิต ละจริงใจตอความรู้สึก มีจุดประสงค์ในสิ่งที่ทำ ชอบการแข่งขันไม่ว่าจะเรื่องใดๆ พยายามทำทุกสิ่งให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตนเองวางไว้
8. สีม่วง
         คนที่ใช้ผ้าปูนอนสีม่วงจะดูค่อนข้างลึกลับ แต่ก็ไม่ใช้คนเห็นแก่ตัวค่อนข้างที่จะเป็นผู้นำอยู่พอสมควร มีความเป็นตัวของตัวเองสูง หนักแน่นในเรื่องความรักและชอบให้อภัยคนที่ด้อยกว่าเสมอ
9.สีดำ
      ชอบความท้าทาย เบื่อชีวิตที่เรียบง่าย จำเจ มีความอดทน ยึดมั่นในความคิด ถ้าเชื่อหรือคิดว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนั้นถูกต้องก็ยากที่จะเปลี่ยนใจ โดยเฉพาะเรื่องของความรักจ้ะ
10. สีขาว
        สำหรับคนที่ชอบใช้ผ้าปูนอนสีขาว ยึดความฝันเป็นหลัก แต่ความฝันนี่แหละจะนำพาไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิต แต่บางครั้งมักจะชอบอิจฉาคนอื่น ๆ นิดนะครับ

ถังขยะพลังแสงอาทิตย์

วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 12:48:02 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ [อ่านล่าสุด 73 คน]

ถังขยะไฮเทคที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ย่อยสลายขยะ

ถังขยะพลังแสงอาทิตย์- ฟิลาเดเฟีย เริ่มนำถังขยะพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทั่วเมือง โดยถังขยะไฮเทครุ่นนี้มีคุณสมบัติพิเศษใช้พลังงานแสงอาทิตย์ย่อยสลายขยะ ซึ่งจะช่วยลดรอบเก็บขยะของเจ้าหน้าที่

ถนอมดวงตา...กันบ้าง

ถนอมดวงตา...กันบ้าง


โอ๊ย...ปวดตา!!  อาการนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ดวงตาต้องจ้องและรับแสงจ้าเป็นเวลาราว 6-8 ชั่วโมงต่อวันปัจจุบันอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากกว่า ร้อยละ 50 มีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า ปวดศีรษะ รวมทั้งอาการอื่นๆ วิธีการดูแลรักษาสายตานั้นทำได้ไม่ยาก... หากเรารู้สึกว่า ตาเริ่มแห้ง ให้กระพริบตาถี่ขึ้น เพราะอาการตาแห้ง เกิดจากการกระพริบตาน้อย เนื่องจากเราใช้สายตาในการเพ่งมองจอคอมพิวเตอร์นาน โดยปกติอัตราการกระพริบจะอยู่ที่ 20-22 ครั้งต่อนาที หากเราใช้สายตานาน อัตราการกระพริบจะเหลือเพียง 6-8 ครั้งต่อนาที หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อสร้างความชุ่มชื่น
จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม จัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้ม่านเพื่อปรับแสงให้ผ่านเพียงบางส่วน ไม่ให้เข้าตาโดยตรง เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลาพิมพ์งาน ปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น
เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ ลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป
พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง เปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานหรืออาจจะบริหารดวงตาด้วยวิธีง่ายๆตามหลักของ เบตส์นายแพทย์ชาวอังกฤษ ที่คิดค้นท่าบริหารจนมีชื่อเสียงไปทั่วยุโรปและอเมริกา... เริ่มแรก ใช้อุ้งมือครอบที่ดวงตา แล้วนึกถึงภาพวันสบายๆ หรือการพักผ่อนสุดสัปดาห์ จากนั้นจินตนาการว่าเรากำลังมองสิ่งของสีสดใส เช่น ดอกไม้สีแดง เหลือง การจินตนาการภาพจนเห็นวัตถุที่ชัดเจน จะช่วยให้สายตาดีขึ้น ต่อไป ให้กวาดสายตาไปมา แบบไม่ต้องจ้อง เพื่อผ่อนคลาย และฝึกโฟกัสภาพ ทั้งใกล้และไกลสลับไปมา เมื่อตื่นนอน ชโลมดวงตาด้วยเย็น เพื่อให้กล้ามเนื้อตากระชับ ส่วนก่อนนอน ให้ชโลมด้วยน้ำอุ่นเพื่อความผ่อนคลายสุดท้าย ให้ยืนแกว่งตัวไปมาแบบฟรีสไตล์ โดยยืนแยกเท้าให้กว้าง แล้วมองไปตามการแกว่งของลำตัว จะทำให้ดวงตาได้ปรับสภาพตามการเคลื่อนไหวนอกจากนี้ การรับประทานอาหารก็มีส่วนช่วยบำรุงสายตาให้ดีขึ้น อาหารที่ดีต่อดวงตา ได้แก่ ผัก ผลไม้สด ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักใบเขียว แครอท  และผัก ผลไม้ที่มีสารลูทีนและซีแซนทีน ในผักสีเหลืองและเขียวเข้ม เช่น ฟักทอง ผักโขม ผักกวางตุ้ง ทั้งยังควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ควบคู่ไปด้วยดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก การได้มองเห็นสิ่งต่างๆ ถือเป็นความโชคดีของชีวิต หากสายตามีปัญหา ก็จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันมีปัญหาตามไปด้วย ดังนั้น เราควรให้ความสำคัญกับดวงตาเป็นพิเศษ เพื่อที่เราจะมองเห็นทุกอย่างได้เป็นปกติ.


หัวใจไปถึง


ระดับความสูงบางระดับ เราไปถึงได้ก็ด้วยหัวใจเท่านั้น
Some heights can only be reached by hearts.

คนจีน-ไทย-ญวน


“สิบคนจีนเท่ากับหนึ่งคนไทย แต่สิบคนญวนเท่ากับหนึ่งคนจีน”
  คนจีนขยันและมีหัวการค้า

เปิดโผ 25 ประเทศ เสี่ยงวิกฤตอาหาร

การจัดลำดับตามความสำคัญของงาน


การจัดลำดับตามความสำคัญของงาน
(Prioigizagion)


วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 5........ ข้อ 3.ทฤษฏีการจูงใจ


 
3.1  ทฤษฎีลำดับขั้นตามความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) คือ
 
 
         ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ ปัจจัย 4
- ความต้องการความปลอดภัย ได้แก่ ความมั่นใจด้านการคุ้มครอง
- ความต้องการความรักและการมีส่วนเป็นเจ้าของ ได้แก่ ความสนใจเอาใจใส่ เพราะความสำคัญ
- ความต้องการได้รับการยกย่องสรรเสริญ ได้แก่ ความก้าวหน้า ความมั่นใจ มีเกียรติคุณ
- ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ได้แก่ ความปรารถนาที่แท้จริงของตนเอง แนวโน้มของการมีขวัญและกำลังใจ
 
 
3.2ทฤษฎีองค์ประกอบ 2 ปัจจัยของเฮอร์ซเบร์ก
1.ปัจจัยในการทำงานเป็นผลในทางบวก เช่น  งานนโยบาล     คุณภาพของการบังคับบัญชา สภาพทางกายภาพ     ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รายได้ ความมั่นคงใน       ตัวแทนงาน (Satisfied Factors)2.ปัจจัยในทางลบ ได้แก่  ความขี้เกียจไม่ชอบงาน และ การ      ปฏิบัติต่าง ๆ (Dissatisfied Factors)

บทที่ 5 เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสาร


การสื่อสารเป็นการอาศัยการพูดคุย การส่งสัญลักษณ์ การส่งจดหมายการใช้สายตาและภาษากาย
การที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์การและการทำงานร่วมกันด้วยดีในองค์การต้องอาศัยการติดต่อสื่อสาร
ความหมายของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นกระบวนการที่นำเอาข่าวสารจากบุคคลหรือกลุ่มคนไปสู่บุคคลอื่นหรือกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน มินบ์ซเบิร์ก  กล่าวถึงบทบาทการติดต่อสื่อสารว่า
1.เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น เรากับเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชา
2.เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในองค์การหรือหน่วยงาน
3. เป็นการตัดสินใจ การสั่งการจากฝ่ายจัดการไปยังพนักงาน
 
ความสำคัญของการติตต่อสื่อสาร
 
เป็นการติตต่อระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นและการติดต่อสื่อสารนั้นต้องการแลกเปลี่ยนความหมายในเรื่องต่างๆ เพื่อจะให้ผู้อื่นได้รับรู้หรือมีส่วนร่วมในความรู้สึกนั้น อาจจะเป็นภาษา สัญลักษณ์ เสียง บันทึกข้อความ
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
    รูปแบบที่ง่ายที่สุดของการติตต่อสื่อสารมีกระบวนการดังนี้
  ผู้ส่ง                  ข่าวสาร               ผู้รับ
แสดงรูปแบบกระบวนการติดต่อสื่อสาร

อาการของคนไม่ซื่อสัตย์ มีดังต่อไปนี้


-ตากรอกไปมา
- กระสับกระส่าย
- พูดเร็ว
- เปลี่ยนเสียง
- กระวนกระวาย
- ทำท่าว่าเป็นคนจริงใจแบบเกินจริง
- เหงื่อแตก, เลียริมผีปาก,  ลิ้นกวาดฟันในปาก
- เอามือปิดปากระหว่างพูด ถูจมูก หรือกระพริบตา
อาการของคนที่ซื่อสัตย์จะตรงข้ามกับราชการข้างบน