วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ดื่มน้ำอัดลม เสี่ยงกระดูกพรุน-ฟันกร่อน เยาวชนไทย 1.2 ล้านคนติดงอมแงม!!!


คุณทราบหรือไม่ว่า?
ทุกวันนี้ "เด็กไทย" กำลังประสบกับปัญหา "ฟันผุ" อย่างรุนแรง ผลสำรวจของ "กรมอนามัย" พบว่า...
เด็ก 10 คนจะมีฟันผุ 9 คน
เด็ก 1 คนฟันผุเฉลี่ย 6 ซี่
เรียกได้ว่าสถานการณ์อยู่ในระดับสูงทะลุปรอท และเมื่อค้นลึกลงไปพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้อนาคตของชาติ "ฟันเสีย" มาจากขนมและ...น้ำอัดลม !!!

" ปัจจุบันเด็กไทยหันมาบริโภคขนมที่มักมีส่วนผสมน้ำตาลและแป้งเป็นส่วนผสมหลักแทนการบริโภคผัก และผลไม้ ซึ่งการบริโภคขนมดังกล่าวล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันผุทั้งสิ้นเพราะน้ำตาลที่มีอยู่ในน้ำอัดลมส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลทรายหรือ ซูโครส ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดที่ก่อให้เกิดฟันผุมากที่สุด เนื่องด้วยเชื้อโรคฟันผุ สามารถเปลี่ยนน้ำตาลซูโคลสให้เป็นกลูแคน ที่มีลักษณะเหนียว คล้ายกาว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เกาะกลุ่มติดแน่นกับผิวฟัน เกิดคราบจุลินทรีย์อย่างสมบูรณ์บนผิวเคลือบฟัน ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดฟันผุได้มากขึ้นหากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีพอ" เป็นคำอธิบายของ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย ชี้แจงพิษภัยจากการดื่มน้ำอัดลม
"น้ำอัดลม" มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ น้ำ สารปรุงแต่งกลิ่นและสี กรดหลาย ชนิด และมี "กาเฟอีน" ซึ่งเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง หากได้รับในปริมาณมาก อาจจะทำให้มีอาการมือสั่น กระสับกระเส่า ไม่มีสมาธิ ใจสั่น และความดันเลือดเพิ่มขึ้น งานวิจัยของแพทย์หลายแห่ง ระบุว่า น้ำอัดลมมีน้ำตาล ให้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่ มีสารอาหารอื่นๆ เครื่องดื่มเหล้านี้ยังทำให้ผู้ดื่ม อ้วน ท้องอืด ปวดท้อง เพราะกรดคาร์บอนิกทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ และยังทำให้กระดูกพรุน เพราะกาเฟอีนทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ดื่มสูญเสียแคลเซียม น้ำอัดลมมี กรดฟอสฟอริก ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง กระดูกเปราะ มีผลให้กระดูกหักง่าย หรือกลายเป็น "โรคกระดูกพรุน" ก่อนวัยอันควร
งานวิจัยยังพบว่า การดื่มน้ำอัดลมวันละครั้ง อาจทำให้เด็กอายุ 12 ปี มีโอกาสฟันกร่อน ถึงร้อยละ 59 เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมลดลงจากวันละ 2 แก้วเหลือ 1 แก้ว ภายใน 12 เดือน จะลดน้ำหนักได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ลด การดื่มน้ำอัดลมแต่ละกระป๋อง จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนได้ถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่ม
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงพิษภัยของน้ำอัดลม ที่มีมากมาย แต่ทว่า น้ำอัดลม ยังคงเป็น เครื่องดื่มสุดฮิตของคนไทย ดูได้จาก"มูลค่าตลาดน้ำอัดลม" ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี คาดว่าตลาดน้ำอัดลมในประเทศไทยมีมูลค่าสูง 4 หมื่นล้านบาท โดยอัตราการดื่มน้ำผสมน้ำตาลของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 110 ขวด /คน/ปี สอดคล้องกับการสำรวจ "การดื่มนมของนักเรียน ป.4 ป.6 และทัศนะของผู้ปกครองเรื่องการดื่มของเด็ก" ของ "สำนักวิจัยเอแบคโพลล์" ในช่วงที่ผ่านมาพบข้อมูลที่น่าตกใจว่า.... เด็ก ป.4 ร้อยละ 92 เด็ก ป.6 มากถึงร้อยละ 91.7 เข้าใจว่าการไม่ดื่มนมมีผลต่อสุขภาพ เช่นเดียวกับผู้ปกครอง ร้อยละ 61 รู้ดีว่าในนมมีสารอาหารซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น โปรตีน แคลเซียม วิตามิน
การสำรวจพบว่าเด็ก ป. 4 และ ป. 6 ดื่มน้ำอัดลมอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก ประมาณการว่า เด็ก ป.4- ป.6 ซึ่งอยู่ในวัย 10-12 ปี ดื่มน้ำอัดลมมากถึง... "1.2 ล้านคน"!!!
นพ.ณรงค์ศักดิ์อธิบายว่า หากเด็กมีการบริโภคขนมหวานหรือน้ำอัดลมในปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละวัน จะทำให้เด็กไม่รู้สึก หิวตลอดทั้งวัน และไม่ถือว่าสิ่งที่บริโภคเข้าไปนั้นเป็นอาหาร เพราะร่างกายไม่ได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และหลากหลายตามที่ร่างกาย ต้องการ เนื่องจากขนม ท็อฟฟี่ เยลลี น้ำหวานหรือน้ำอัดลม ที่บริโภคนั้นล้วนมีน้ำตาลประกอบในปริมาณมากแทบทั้งสิ้น
" น้ำอัดลมนับเป็นเครื่องดื่มที่น่าห่วงมากที่สุด เพราะส่วนประกอบหลักของน้ำอัดลม ส่วนใหญ่คือน้ำตาลและน้ำ เมื่อเด็กดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง จึงเท่ากับได้รับน้ำตาลในปริมาณที่เทียบเท่ากับการอมท็อฟฟี่ 17 เม็ดทีเดียว และการดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ ยังส่งผลให้เกิดฟันกร่อนตามมาอีกด้วย " น.พ.ณรงค์ศักดิ์ ระบุ
นตระหนักถึงภัยเงียบชนิดนี้อย่างจริงจัง
น้ำอัดลม 1 ขวด มีน้ำตาลผสมอยู่ ประมาณ 13 ช้อนชา น้ำอัดลม จึงเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มชนิดอื่น
หากเทียบปริมาณ 200 มิลลิลิตร หรือ 1 แก้ว น้ำหวานชนิดเข้มข้นมีน้ำตาลเฉลี่ย 4 ช้อนชา น้ำหวานทั่วไปมี 7 ช้อนชา นมถั่วเหลืองมี 5 ช้อนชา น้ำผลไม้มี 5 ช้อนชาครึ่ง ชาเขียวมี 5 ช้อนชา

อธิบดีกรมอนามัย เปรียบเทียบว่า เด็กที่นิยมบริโภคเยลลี่ขนาด 1 ถ้วยเล็ก ซึ่งมีปริมาณน้ำตาล 26 กรัม ครั้งละ 4-5 ถ้วย ตามด้วยน้ำอัดลม 1 กระป๋อง ก็จะทำให้เด็กได้รับปริมาณน้ำตาล ที่มากเกินความต้องการของร่างกาย และเกินกว่ามาตรฐานที่ องค์การอนามัยโลก กำหนดให้บริโภคน้ำตาล ซึ่งรวมถึงน้ำตาลจากทุกแหล่งอาหารไม่เกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่ ควรได้ รับใน 1 วัน คือ เด็กเล็กควรบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลไม่เกิน 160 กิโลแคลอรี หรือน้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน หรือไม่ควรเกิน 8-10 ช้อนชา
" การบริโภคขนมหวานและดื่มน้ำอัดลมยังคง เป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็ก เพราะเนื่องจากเป็นวัยที่สมควรจะได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ไม่ใช่เพียงแค่สารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น"
        นพ.ณรงค์ศักดิ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้ปกครองและครูจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่ง เสริมให้ความรู้แก่เด็ก เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีอัน จะเป็นการป้องกันการเกิดโรคฟันผุตามมา
"น้ำอัดลม" เปรียบเสมือนภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพร่างกายระยะยาว...ถึงเวลาหรือยังที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องชี้ให้เยาวชนและผู้ค

Competency Need

Competency Need
Ability to Learn & Adapt to change (ความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง)
period

การมุ่งมันสู่ความสำเร็จ(Achievement Motivation)
Siam Technology


























การควบคุมอารมณ์( Emotional Control)

การปรับตัว(Adaptability)

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง(Continuous Learning)

ความกระตื้นรื้น(Energetic)

ความอดทนอดกลั่น(Endurable and tolerable)

ความมั่นใจในตัวเอง(Self-Confidence)

การทำงานได้ด้วยตัวเอง(Dependability)

ความน่าเชื่อถือหรือไว้ว่าใจได้(Trust)

การทุ่มเทในการทำงาน(Dedication to work)

ทัศนคติเชิงบวกต่องาน(Positive attitude to work)
การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและถูกต้องตามระเบียบวินัย

การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา(Following Superior ’s Command)

การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากร(Resources Utilization)

การพัฒนาปรับปรุงงาน(Work Improvement)

การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน(Following Rules&Regulation)
การให้ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม(Team Effectiveness)

การทำงานเป็นทีม(Teamwork)

การให้ความร่วมมือ(Cooperation)

การสื่อสาร (Communication) ,  การสื่อความและทักษะด้านงานเอกสาร(Communication &Documentary Skills)

การประสานงาน(Coordination)

การสอนแนะ(Coaching)

การให้คำปรึกษา(Counseling)

การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง(Conflict Problem Solving)

มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)

ด้านวิชาชีพพื้นฐาน

ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์(Computer Skill)

ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ(Foreign Language Skills)
ด้านการปริหารจัดการทั่วไป

ภาวะผู้นำ(Leadership)

การนำเสนอ(Presentation)

การดำเนินการในที่ประชุม(Meeting Facilitation)

การมอบหมายงาน(Delegation)

การติดตามงาน(Follow-Up)

การจัดลำดับความสำคัญของงาน(Prioritization)
Q   จิตสำนึกด้านคุณภาพ (Quality Awareness)
E    จรรยาบรรณในการทำงาน (Ethics of work)
S     จิตสำนึกด้านความปลอดภัย (Safety Awareness)
S     จิตสำนึกในการให้บริการ (Service Mind)